วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

เซอร์ไอแซค นิวตัน


ประวัติ


เซอร์ไอแซค นิวตัน เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1642 ที่ลินคอล์นเชียร์ อังกฤษมในสมัยที่เป็นเด็กไม่ค่อยสนใจในการเรียนนัก ชอบทางด้านเครื่องจักร เครื่องกล แต่พออายุได้ 15 ปี เขากลับเอาใจใส่การศึกษามากขึ้น พอบิดาของเขาถึงแก่กรรมลง มารดาก็ตั้งใจจะให้เขาทำงานในฟาร์มเหมือนบิดา แต่เขาไม่ชอบ นิวตันเป็นคนไม่ชอบเพื่อน ฉะนั้นเขาจึงมีเวลามากพอที่จะหมกมุ่นอยู่กับตำราเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้น เป็นต้นว่า โรงสีลมเล็กๆ ซึ่งใช้กำลังงานกระแสลมทำให้เครื่องจักรหมุน และสร้างนาฬิกาน้ำโดยให้หยดลงมาในถังแล้วสังเกตระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นมา พอนิวตันจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ ปี 1665 เขาก็ทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยนี้พอเกิด โรคระบาด มหาวิทยาลัยปิดชั่วคราว นิวตันจึงกลับไปทำงานส่วนตัวที่บ้าน ในช่วงเวลานั้นเป็นระยะที่เขาได้ความคิดเกี่ยวกับงานสำคัญของเขาในเวลา ต่อมาหลายเรื่อง เมื่อเขาทำงานเงียบๆ ด้วยตัวเอง คิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เขาได้สังเกตและสามารถเห็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งคนอื่นมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดาเช่น การสัเกตการหล่นของผลแอปเปิ้ล ที่ให้เขาได้ความคิดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกและเป็นแรงที่ทำให้ โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และต่างๆ อยู่ในระบบสุริยะ คนที่ไปมองเห็นสีของรุ้งกินน้ำในท้องฟ้า แต่นิวตันรู้และสามารถพิสูจน์ได้ว่า แสงที่เราเห็นว่า ไม่มีสีหรือที่เรียกว่ามีสีขาวเกิดจากสีรุ้งนั่นเอง นิวตันเป็นคนที่อ่อนไหว เขาไม่ชอบการขัดแย้งกัน และมักจะโกรธต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เขาไม่ได้ตี พิมพ์เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนั้นเขาได้ศึกษาวิธีที่สร้างกล้องโทรทรรศน์ และเมื่อเขากลับไปเคมบริดจ์ เขาได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่ แบบมีตัวสะท้อนแสง แล้วกล้องโทรทรรศน์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงและได้รับเชิญให้เข้าร่วมในราชสมาคมชั้นนำของนักวิทยา ศาสตร์ในประเทศอังกฤษ แต่โรเบิร์ต ฮุค ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสมาคมได้วิจารณ์ความคิดของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของ แสง นิวตันและฮุคจึงไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันอีกเลย นิวตันยังมีความสนใจในสิ่งนอกเหนือไปจากวิทยาศาสตร์ เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาในช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้นในปี 1699 เขาก็ได้เป็นหัวหน้ากองกษาปณ์ของราชสำนัก ซึ่งผลิดเหรียญที่ใช้กันในประเทศถึงแม้ว่าเขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ แต่เขาก็มีความคิด บางอย่างที่แปลกประหลาด เช่น เขาเชื่อในเรื่องโหราศาสคร์ เชื่อในทฤษฏีที่ดวงดาวมีอิทธิพลต่อโชคชะตาของคน เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าจะสามารถเปลี่ยนโลหะเช่น ทองแดงให้เป็นทองได้ ในสมัยของนิวตัน ผู้คนมีเชื่อกันเช่นนี้มาก ซึ่ง ในปัจจุบันเราทราบว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ไอแซค นิวตัน เป็นบุคคลที่มุ่งทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าชีวิตของตนเอง เขามีความสุขอยู่กับการทดลอง วิทยาศาสตร์และการคำนวณภายในห้องทดลองของเขายิ่งกว่าอื่นใด เขาได้รับพระราชทานบรารดาศักดิ์เป็นท่าน " เซอร์"เมื่อมีอายุร่วม 60 ปีแล้วเซอร์ ไอแซคนิวตัน ถึ่งแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี และถูกฝังในสุสานวิหารเวสมินสเตอร์ ซึ่งในปัจุบันนี้มีอนุสาวรีย์ของเขาตั้งอ่ยู่ แม้ว่ามทุกคนจะระลึกถึงเขาว่าเป็น บุคคลสำคัญคนหนี่ง แต่ตัวเขาเคยพูดว่า ฉันมองได้ไกลกว่าคนส่วนใหญ่ก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์

ผลงาน

-เป็นผู้พบแรงดึงดูดของโลก

-เป็นผู้สร้างกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง

จอห์น โลกี้ เบียร์ด


ประวัติ


จอห์น โลกี้ เบียร์ด เกิดในปีค.ศ.1888 เป็นบุตรชายของเสมียนที่เข้มงวด ในวัยเด็กเขามักจะเจ็บป่วยเสมอ และไม่ชอบไปโรงเรียนแต่กลับชอบประดิษฐ์ สิ่งต่างๆอาทิเช่นเครื่องร่อนที่ทำให้เขาบาดเจ็บเพราะตกจากหลังคาบ้านหลัง จากเรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้าจากกลาสโกว์แล้วก็เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยวิศวกร อยู่พักหนึ่ง ก็ต้องออกจากงานเพราะหยุดงานบ่อยครั่งเนื่องจากอาการป่วย จึงทำการหาเลี้ยงชีพโดยวิธีอื่น อาทิเช่นทำของขาย เช่น แยม และสบู่ แต่ก็ ประสบความล้มเหลว แรงบันดาลใจให้จอห์น เบียร์ด คิดสร้างโทรทัศน์ ก็เนื่องจากการที่กูกิเอลโม มาร์โคนีได้ประดิษฐ์เครื่องสัญญาณและรับสัญญาณ วิทยุทางไกลเป็นผลสำเร็จ ความคิดนี้ทำให้เบียร์ด จินตนาการถึงการส่งภาพ ด้วยคลื่น วิทยุขึ้นมาบ้างนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ค้นพบว่าเมื่อแสงตกลงบนวัตถุ ที่ไวต่อแสงที่เรียกว่า ซีเลเนี่ยม จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ถ้าแสงสว่างมาก ขึ้นกระแสไฟฟ้าก็แรงขึ้นด้วย ภาพถ่ายที่ดีมักจะมีบริเวณสว่างและเงาที่มี ความเข้มต่างๆ กัน ดังนั้นถ้านำภาพถ่ายมาวางใกล้แผ่นซีเลเนียมและลำแสง ส่องไปยังภาพถ่ายและเคลื่อนที่ไปทั่วๆ ภาพ ส่วนสว่างและมืดของภาพจะทำให้ เกิดกระแสไฟฟ้ากำลังต่างๆ กันจากแผ่นซีเลเนียมวิธีการนี้เรียกว่า กวาดภาพจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะป้อนไปยังเครื่องแปลงสัญญาณจับสัญญาณ เหล่านี้แล้วเปลี่ยนให้เป็นแสงอีก ทำให้เกิดภาพเดิมขึ้นอีก วิธีนี้เป็นการ ผลิตภาพนิ่งซึ่งเป็นวิธีที่หนังสือพิมพ์ได้รับภาพข่าวจากทั่วโลก แต่สำหรับ โทรทัศน์ภาพต้องมีการเคลื่อนไหว เราได้อ่านวิธีการทำให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ในภาพยนตร์ที่ฉายบนจอโดยการฉายภาพหลายๆ ภาพติดต่อกันให้มีความเร็ว พอที่ตามนุษย์จะมองไม่เห็นรอยต่อระหว่างภาพทำให้เกิดความรู้สึกว่า เป็นภาพที่ต่อเนื่องในโทรทัศน์ก็ใช้วิธีการเดียวกันนั้น แต่มีปัญหาที่ว่าต้อง กวาดภาพไป และเปลี่ยนให้เป็นกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนสัญญาณและเปลี่ยนกลับ เป็นภาพซึ่งต้องทำให้ได้ 20 ภาพต่อวินาที เพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวนั้น ต่อเนื่องกัน เบียร์ดทำงานในห้องนอน เขาสร้างเครื่องโทรทัศน์เป็นเครื่อง แรกในปีค.ศ.1925 และกวาดภาพด้วยจานใบหนึ่งซึ่งเขาเจาะรูหลายๆ รูแล้ว หมุนจานอย่างเร็วบนแกนซึ่งใช้เข็มถักไหมพรม เขาฉายแสงไปบนจานที่ หมุนทำให้ส่องภาพไปตามลำดับและเปลี่ยนแสงเล่านั้น ให้เป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะถูกเปลี่ยนกลับให้เป็นภาพในเครื่องรับสัญญาณว่างอยู่ห่างจาก เครื่องส่งเพียง 1 เมตรกว่า หลังจากการทำงานนี้ไม่นานเขาก็เดินทาง ไปร้านเซลฟริดจ์ในลอนดอนแล้วสาธิตให้เจ้าของชม ในปีค.ศ.1925 เจ้าของร้าน ทำสัญญาจ้างให้เขาออกโทรทัศน์วันละ 3 รายการในร้านภาพที่เห็นไม่ชัดนัก แต่เครื่งก็ทำงานได้ และประขาสชนให้ความสนใจ ในปีต่อมาเขาสาธิตให้ หนังสือพิมพ์ชม จากนั้นเขาไปยัง บีบีซี และถึงแม้ว่าภาพของเขาจะไม่ ชัดเจนแต่บีบีซีก็ให้กำลังใจสนับสนุน ในปีค.ศ.1929 มีรายการโทรทัศน์ของบีบีซีส่งออกอากาศ และเริ่มถ่ายทอด การแสดงละครทางโทรทัศน์ในปีต่อมาได้มีการถ่ายทอดการแข่ง ม้าเดอร์บี้ทางโทรทัศน์ในกรุงลอนดอน จอห์น เบียร์ด ถึงแก่กรรมด้วย โรคไข้หวัดใหญ่ขณะที่เขากำลังคิดและพัฒนาในการส่งภาพเป็นสีในปีค.ศ.1946

ผลงาน

-เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องรับโทรทัศน์เครื่องแรกของโลก

เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวีย์



ประวัติ


เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวีย์ เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1778 ที่เมืองคอร์นวอล ประเทศอังกฤษ หลังจากจบการศึกษาแล้วเขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของอยุรแพทย์คนหนึ่ง ในสมัยนั้นการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้านัก โดยเฉพาะการผ่าตัด ในโรงพยาบาลยังไม่มียาใดที่จะระงับความเจ็บปวดของคนใข้ในขณะผ่าตัด ฮัมฟรีย์ เดวีย์จึ่งพยายามคิดค้นหาวิธีระงับความเจ็บปวดและเขาก็ได้ ค้นพบก๊าซชนิดหนึ่ง (คือไนตรัสออกไซด์) โดยการสูดเข้าไปโดยบังเอิญ และค้นพบว่าก๊าซนี้ทำให้เขาหมดสติไปชั่วขณะและพอตื่นขึ้นมาก็ไม่ได้ รับอันตรายแต่อย่างใดและยังรู้สึกสดชื่นอีกด้วย เขาจึงเรียกมันว่า "ก๊าซหัวเราะ" ซึ่งในเวลาต่อมาได้นำมาใช้เป็นยาสลบ นอกจากนั้นเขา ก็ทดลองสูดก๊าซชนิดต่างๆ เข้าไปจนเกิดอาการป่วยจึ่งต้องระงับ การทดลอง ชั่วคราว นอกจากการค้นพบก๊าซหัวเราะแล้ว เขายังเป็นคนแรกที่แยก องค์ประกอบของน้ำได้เป็นผลสำเร็จโดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ผ่าน เข้าไป ในน้ำ และแยกน้ำออกเป็นก๊าซได้ 2 อย่างคืออ๊อกซิเจนกับไฮโดรเจน เขาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกกรรมวิธีสมัยใหม่ในการใช้ไฟฟ้า ในการทดลองทางเคมีเป็น คนแรก และในปี พ.ศ 2358 ฮัมฟรีย์ เดวีย์ก็ได้ประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัย เพื่อใช้ในกิจการเหมืองเป็นครั้งแรก ซึ่งสิ่งประษฐ์ชิ้นสำคัญนี้เองที่ทำให้ ชื่อเสียงของเขาเป็นที่จด จำไปทั่วโลก โดยเฉพาะในหมู่ชาวหมืองถ่านหินเพราะในสมัยนั้นการ ขุดเหมืองถ่านหินนับเป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่งเพราะลึกลงไป ในเหมืองนั้นจะมีก๊าซ ชนิดหนึ่งที่ชาวเหมืองเรียกว่า "ไฟอับ" แฝงอยู่ และมักจะเกิด ระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อโดนกับเปลวไปจากตะเกียงน้ำมันที่คน งานใช้อยู่จากโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลาย ครั้งนี้เอง ทำให้เจ้าของบ่อถ่านหินพากันร้องทุกข์ต่อฮัมฟรีย์ เดวีย์นักวิทยาศาสตร์ ผู้ยิ่งยงในสมัยนั้น ฮัมย์ฟรีย์ เดวีย์จึงเดินทางไปที่เมืองนิวคาสเซิล และค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถป้องกันไม่ให้เปลวไฟจากตะเกียงน้ำมัน แลบไปถึงไฟอับในเหมืองได้ ในที่สุดก็ออกแบบโคมไฟป้องกันอันตราย ขึ้นแบบหยึ่ง ซึ่งให้แสง สว่างและมีตะแกรงลวดเส้นบางๆ ซึ่งจะขัดขวางและป้องกันเปลวไฟมิให้ แลบไปถึงไฟอับในเหมือง แลแม้ว่าก๊าซจะถึงเปลวไฟทางตะแกรง แต่พื้นผิวที่เย็นของตะแกรงจะป้องกันความร้อนของเปลวไฟมิให้ แลบไปถึงก๊าซข้างนอกได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางอุตสาหกรรมถ่านหิน เป็นอันมาก และจากงาน ทางด้านไฟฟ้าเคมีและการค้นพบธาตุต่างๆ เป็นจำนวนมาก ได้ทำให้เขา มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนาง (เซอร์) ในปี 1892 เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวีย์ถึงแก่กรรมที่เมืองเจนีวา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ1829 เมื่อมีอายุได้ 51 ปี

ผลงาน

-เป็นผู้พบยาสลบที่ใช้ในทางการแพทย์

-เป็นผู้ประดิษฐ์ตะเกียงเจ้าพายุ ( ตะเกียงสำหรับให้แสงสว่าง สำหรับการขุดแร่ในอุโมงค์ )

เบนจามิน แฟรงคลิน



ประวัติ

เบนจามิน แฟรงคลิน เกิดเมื่อวันที 17 มกราคม ปี ค.ศ.1706 ในประเทศอังกฤษ เขามีพี่น้องทั้งหมด 17 คน เขาเป็นคนที่ 15 บิดามีอาชีพเป็นคน ผลิตเทียนไขกับสบู่ ครอบครัวของเบนจามินได้ลี้ภัยทางศาสนา จากประเทศอังกฤษไปตั้งรกรากอยู่ในอเมริกาซึ่งขณะนั้นเป็นเมือง อาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่เขายังอายุน้อย บิดาของเบนจามินได้ส่งเขา เข้าเรียนในโรงเรียนซึ่งตั้งอยู่ใกล้บ้าน แต่ผลการเรียนไม่ค่อยดีนักเพราะ อ่อนคำนวณ บิดาจึงให้ออกจาก โรงเรียนมาช่วยงานทางบ้าน ซึ่งเบนจามินไม่ค่อยชอบงานด้านนี้นัก เพราะชอบงานทางด้านหนังสือ บิดาจึงส่งไปอยู่ดกับพี่ชายที่เมืองบอสตันซึ่งมี กิจการโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง เบนจามิน แฟรงคลิน เริ่มฝึกงานช่างพิมพ์ ด้วยเหตุว่าเขาสนใจงานด้านนี้มาก่อน จึงตั้งอกตั้งใจประกอบกับสนใจ ทางด้านหนังสือ จึงฝึกเขียนบทความลงในหนังสือโดยสอดไว้ในกองต้นฉบับ โดยไม่บอกให้พี่ชายทราบ เจมส์ซึ่งเป็นพี่ชายเมื่ออ่านดูก็ชอบใจและ นำพิมพ์ออกสู่ท้องตลาดโดยไม่รู้ว่าเป็นฝีมือของใคร ข้อเขียนนั้นได้รับ ความนิยมอย่างสูง จนมีการลงพิมพ์ผลงานอื่นๆ อีกหลายชิ้น แต่พอความจริง เปิดเผย ออกมา เจมส์กลับโกรธมาก และไม่ยอมลงเรื่องที่เบนจามินเขียนอีกเลย เมื่อขัดใจกับพี่ชาย เบนจามิน แฟรงคลินจึงลาออกจากงานเดินทางไป เมืองฟิลาเดลเฟียเพื่อทำงานด้านการ พิมพ์ของตัวเองขึ้นบ้าง ขณะเดียวกันเขาก็เริ่มสนใจเกี่ยวกับไฟฟ้า โดยเฉพาะ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติคือฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่าซึ่งในสมัย นั้นยังไม่มีใครให้คำตอบที่ถูกต้องได้ ปี ค.ศ.1752 เบนจามิน จึงเริ่มค้นหา ความจริง เกี่ยวกับไฟฟ้าในอากาศ โดยใช้วิธีชักว่าวขึ้นไปบนท้องฟ้า เวลาฝนตกซึ่งเป็นการทำที่เสี่ยงอันตรายมาก ว่าวของเขาทำจากผ้าแพร ปิดบนโครง มีเหล็กแหลมติดที่ตัวว่าว ปลายสายผูกลูกกุญแจทองเหลืองและ ใช้ริบบิ้นผูกกับสายว่าวอีกทีหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่จับ พอฝนเริ่มตั้งเค้าเขาก็เริ่ม ส่งว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้า พอโดนฝนสายเชื่อกที่ชักว่าวก็เปียกโชก มันจึ่งกลายเป็น ตัวนำไฟฟ้าที่ดีและไฟฟ้าในกลุ่มเมฆก็เคลื่อนที่จากตัวว่าวมาสู่ลูกกุญแจทาง สายป่าน เบนจามินทราบดีว่าริบบิ้นเป็นฉนวนป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่านเข้าสู่ตัวเขา ดังนั้นเขาจึงไม่ได้รับอันตรายจากการทดลองครั้งนี้ เบนจามินทำการทดลองต่อไป โดยเอาเศษหญ้าจ่อชิดลูกกุญแจ ก็เกิดประกายไฟจากลูกกุญแจมาสู่มือ ของเขา และเมื่อเขาลองเอากุญแจหย่อนลงเกือบถึงพื้นดิน ก็เกิดประกายไฟฟ้า ระหว่างพื้นดินกับลูกกุญแจอีก เขาจึงลงความเห็นว่าไฟฟ้าที่มีอยู่ในอากาศ นั้นเองเป็นตัวการทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า การจะป้องกันอันตราย ที่จะเกิดจากการถูกฟ้าผ่าก็คือการระบายประจุออกจากไฟฟ้าที่มีสะสมอยู่ ในก้อนเมฆในอากาศให้น้อยลง ซึ่งจะทำได้ก็โดยการใช้โลหะปลายแหลมและ สายไฟฟ้าที่เป็นสื่อไฟฟ้าตั้งไว้ในที่สูงแล้วต่อมายังพื้นดิน และฝังส่วนปลายที่ จ่อลงดิน ไว้กับแผ่นโลหะขนาดใหญ่ให้ลึกเพื่อเป็นการระบายประจุไฟ้า แต่ต้องไม่ให้สาย ที่ต่อนั้นโค้งงอจนเป็นมุมฉากเพราะอาจเกิดการลัดวงจรได้ ซึ่ง อุปกรณ์ชนิดนี้เองซึ่งเรียกกันว่า "สายล่อฟ้า" นอกจากการคิดประดิษฐ์สายล่อฟ้า แล้ว เบนจามิน แฟรงคลิน ยังมีความรอบรู้เกี่ยวกับการเกษตร โดย เป็นคนแรกที่แนะให้เกษตรกรแก้ความเป็นกรดของดินโดยการโรยปูนขาว ซึ่งนับเป็นประโยชน์ในการเกษตรกรรมเป็นอันมาก จากการเป็นนักคิด นักประดิษฐ์นี่เอง ทำให้เบนจามินได้รับการยกย่อง และได้รับเกียรติจากราชสมาคมอังกฤษให้เข้าเป็นสมาชิกด้วย ซึ่งการเข้าเป็น สมาชิกของราชสมาคมอังกฤษในสมัยนั้นนับว่ายากที่สุด และส่งที่น่าสรรเสริญ เกี่ยวกับตัวเขาอีกอย่างหนึ่งนั้นคือผลงานและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ของ เขานั้น ไม่เคยนำไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์เลย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อื่นมีสิทธิ์ที่จะประดิษฐ์ สิ่งนั้นขึ้นใช้ได้ นอกจากจะไม่หวงในผลงานแล้ว เขากลับส่งเสิรมและแนะนำ บุคคลอื่นๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เขารู้อีกด้วย นับว่าเขาเป็นคนที่น่ายกย่อง สรรเสริญที่สุดคนหนึ่ง เมื่ออเมริกาได้รับอิสรภาพ เบนจามิน มฟรงคลินก็ได้รับการติดต่อให้เข้ารับตำแหน่งหน้าที่อันใหญ่โตผู้หนึ่งใน คณะผู้บริหาร แต่เขาก็ตอบปฏิเสธไปโดยเห็นว่าตัวเองอายุมากแล้ว และอยาก จะใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสงบกับงานเขียนและงานพิมพ์ที่เขาชื่นชอบ เบนจามิน แฟรงคลินถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ1790 ขณะมีอายุได้84 ปี

ผลงาน

-เป็นผู้ประดิษฐ์สายล่อฟ้า

-เป็นผู้คิดวิธีการลดกรดของดินโดยการโรยปูนขาว

ยอร์ช สนีเฟนสัน



ประวัติ


ยอร์ช สนีเฟนสัน เกิดเมื่อปี ค.ศ1781 ที่เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บิดาของเขาทำงานในเหมืองถ่านหิน ทำหน้าที่ดูแลเครื่อง่จักรไอน้ำซึ่งสูบน้ำออก จากเหมือง ในวัยเด็กเขาไม่เคยได้ไปโรงเรียน ได้แต่ทำงานในไร่ถอนหัวผักกาด เมื่อโตเป็นหนุ่มเขาเริ่มให้ความสนใจและหลงไหลเครื่องสูบน้ำมาก และได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของบิดาเมื่ออายุได้ 14 ปี ในระหว่างน้นเขา ใช้เวลาว่างถอดเครื่องยนต์ของเครื่องจักรไอน้ำออกเป็นชิ้นๆ และศึกษาชิ้นส่วน เหล่านั้นและทำแบบจำลองขึ้น เขาเรียนการอ่านด้วยตนเองและจะอ่านทุกสิ่ง ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องเครื่องจักร จากผลงานการประดิษฐ์ของ ทรีวิธิค ทำให้สตีเฟนสันมีความตั้งใจที่จะออกแบบเครื่อง่จักรไอน้ำที่ใช้กับ รถไฟให้ดียิ่งขึ้น ให้มีขนาดเล็กลง ลดเสียงให้ดังน้อยลง และแล่นได้เร็วยิ่งขึ้น เมื่อมีอายุได้ 33 ปี เขาก็ผลิตยานพาหนะคันแรก โดยลดเสียางเครื่องยนต์ให้ค่อยลง โดยการต่อท่อนำไอน้ำจากลูกสูบของเครื่องไปยังกรวยและพบว่า ท่อและกรวยนี้ช่วยเพิ่มการดูดลมผ่านเตาเผาของเครื่องจักร ทำให้เครื่องจักรของเขา มีกำลังมากกว่าเครื่องจักรของทรีวิธิค และแล่นได้เร็วขึ้นคือราว 35 ไมล์ต่อชั่วโมงและได้รับ การยอมรับโดยเจ้าของเหมืองถ่านหินหลายรายตกลงใจที่จะใช้เครื่องจักร ของเขาในการขนส่งถ่านหิน สตีเฟนสันให้ชื่อรถไฟที่ใช้เครื่องจักรของเขาในการ ขนส่งถ่านหิน สตีเฟนสันให้ชิ่อรถไฟที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำของเขาว่า "ร๊อกเก็ต" ผลงานของสตีเฟนสัน ได้ชื่อว่าเป็นจุดเริ่มต้นและบุกเบิกเกี่ยวกับการ รถไฟเป็นครั้งแรก การริเริ่มของเขาได้รับการปรับปรุงและสานต่อจากวิศวกรรุ่นต่อๆมาให้รถไฟ มีประสิทธิภาพดีขึ้น แล่นได้เร็ขึ้นและทันสมัยยิ่งขึ้น จนทุกวันนี้ขบวนรถไฟด่วนสามารถแล่นได้รเร็วกว่า 125 ไมล์ต่อชั่วโมง ยอร์ช สนีเฟนสัน ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1848

ผลงาน

-เป็นผู้คิดค้นและปรับปรุงเครื่องจักรไอนำสำหรับรถไฟจนใช้งานได้ดี

ไมเคิล ฟาราเดย์


ประวัติ


ไมเคิล ฟาราเดย์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน ปี ค.ศ.1791 เป็นบุตรของช่างเหล็กชาวอังกฤษ เนื่องจากฐานะไม่สู้ดี เขาจึงได้รับการศึกษาน้อยยังไม่ทันเรียนสำเร็จก็ต้องออกจาก โรงเรียนกลางคัน และใช้ชีวิตอยู่ในสลัมแห่งหนึ่งไม่มีวี่แววว่าจะเติบโตขี้นเป็น นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงไปได้ เมื่อมีอายุได้ 13 ปี ไมเคิลก็ไปทำงานเป็นเด็กส่ง หนังสือพิมพ์ และทำงานเย็บปกหนังสือในร้านขายหนังสือด้วย จากการงานนี้ทำให้เขา มีใจรักหนังสือและหาโอกาสอ่านอยู่เสมอ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาไฟฟ้าที่เขา สนใจที่สุด และก็ลองทำการทดลองดูด้วยตนเอง และหาโอกาสไปฟังการบรรยายของ นักวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เสมอ โดยเฉพาะการบรรยายของเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี ซึ่งเขาจะไป ฟังทุกครั้ง และส่งจดหมายแสดงความประสงค์ที่จะขอไปเป็นเด็กรับใช้ของเซอร์อัมฟรีย์ เซอร์อัมฟรีย์ เดวีย์ เห็นชายหนุ่มมีความสนใจอย่างแรงกล้า จึงรับเข้าทำงานเป็นคนล้าง เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องเครื่องมือ ทำให้เขามีโอกาสศึกษาวิชาทางวิทยาศาสตร์จาก เซอร์อัมฟรีย์ จนเกิดความชำนาญจนได้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยและติดตามท่านเซอร์ไปในการ เดินทางไปบรรยายทุกครั้ง ในปี 1821 ขณะที่ฟาราเดย์ได้ทำการทดลองเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า เขาก็พบปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่กระแสไฟฟ้าเดินตามเส้นลวดแล้วทำให้เกิดอำนาจ แม่เหล็กรอบ ๆ เส้นลวดกระแสนี้เมื่อนำเอาเข็มแม่เหล็กไปวางไว้ใกล้กระแสนี้ก็จะหมุน ไปเรื่อยๆ ด้วยหลักอันนี้ ฟาราเดย์จึงทดลองประดิษฐ์ไดนาโมเล็กๆ ขึ้น อันเป็นต้นกำเนิด ของไดนาโมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไมเคิล ฟาราเดย์ ล้มป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมในบั้นปลาย ของชีวิต และถึงแก่กรรมเมื่อ ปี ค.ศ.1867 ที่แฮมป์ตันคอร์ท เมื่ออายุได้ 76 ปี

ผลงาน

-เป็นผู้ให้กำเนิดไดนาโมในปี ค.ศ.1821

วิลเฮล์ม คอนราด รีนต์เกิน



ประวัติ


วิลเฮล์ม คอนราด รืนต์เกิน (wilhelm konrad roentgen) เกิดวันที่ 27 มีนาคม 1845 ที่เมืองเลนเนปในโรน์แลนด์ เป็นบุตรคนเดียวของนักอุตสาหกรรมและการค้าผ้า เขาได้รับการศึกษาครั้งแรกในฮอลแลนด์และในซูริค เขาศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และเป็น ศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์ในปี ค.ศ.1902 รืนต์เกิน ค้นพบรังสีเอ็กซ์โดยบังเอิญเมื่อวันที่8 พฤศ่จิกายน 1895 ขณะที่เขาทำการทดลองโดยเอากระดาษเข็งสีดำสนิทหุ้มหลอด แก้วไว้ไม่ให้แสงสว่างลอดเข้าออกได้ และส่งกระแสไฟฟ้าผ่าน ก๊าซต่างๆ ในหลอดแก้วพิเศษ ซึ่งถูกดูดเอาอากาศออก ในวันหนึ่ง รืนต์เกิน สังเกตว่าแม้หลอดจะถูกปกคลุมด้วยกระดาษสีดำ การแผ่รังสีบางอย่างสามารถจะส่องผ่านออกมาได้และทำให้ฉากที่วางอยู่ใกล้ สว่างขึ้น รืนต์เกินไม่สามารถมองเห็นว่ามีอะไรออกมาจากหลอด แต่เขาค้นพบว่าถ้าเขาวางฉากในห้องถัดไปซึ่งอยู่คนละด้านและปิดประตู รังสีก็ดูเหมือนจะมีผลต่อฉาก ดังนี้รังสีไม่เพียงแต่สามารถผ่านทะลุกระดาษ ดำเท่านั้นยังผ่านไม้ไปได้ด้วย สิ่งต่อมาที่เขาค้นพบคือถ้าเขาวางมือกั้น ระหว่างรังสีและแผ่นถ่ายภาพ รังสีจะบันทึกเงาของโครงกระดูกของ มือเขาบนแผ่นถ่ายภาพนั้น แสดงว่ารังสีนี้สามารถส่องผ่านเนื้อ ของเขาเช่นเดียวกับที่ส่องผ่านกระดาษดำ รืนต์เกินทดลองดูอีก ภายใน 2-3 นาทีก็หายสงสัย เขาจึงประกาศการค้นพบของเขาโดย ให้ชื่อแสงนี้ว่า"รังสีเอ็กซ์" ตั้งแต่รืนต์เกินพบรังสีเอ็กซ์มาจนถึงปัจจุบัน รังสีนี้ได้อำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในวงการแพทย์ ซึ่งค้นพบว่านอกจากรังสีเอ๊กซ์จะช่วยให้แพทย์ใช้ประโยชน์ในการตรวจดูความผิด ปกติของอวัยวะภายในของคนใข้แล้ว รังสีนี้อาจจะใช้ได้ผลในการบำบัด โรคมะเร็งและกำจัดความเติบโตผิดปกติของเซลบางจำพวกด้วยเหมือนกัน นอกจากวงการแพทย์แล้ว รังสีเอ๊กซ์ยังใช้ประโยชน์ในวงการอุตสาหกรรม วิศวกรรม การสืบสวน และวงการวิทยาศาสตร์หลายสาขาด้วยกัน วิลเฮล์ม คอนราด รืนต์เกิน ผู้ค้นพบสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์แก่มวลมนุษย์อย่าง มหาศาล ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1913 ด้วยโรคมะเร็ง

ผลงาน

-เป็นผู้ค้นพบรังสีเอ็กซ์ซึ่งนำมาใช้ในการเอ็กซ์เรย์ในปัจจุบัน